ไฟฉุกเฉิน MCU209ST3 ยี่ห้อ SUNNY
รายละเอียดสินค้า / Product details :
โคมไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน รุ่น MCU209ST3LED ใช้หลอด
LED ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพของแสงสว่างมากกว่าหลอดฮาโลเจน
ขนาด 50วัตต์ หลอดมีอายุการใช้งานได้ยาวนานมากกว่า 50,000ชั่วโมง
อีกทั้งยังช่วยลดค่าใช้จ่ายของแบตเตอรี่ที่มีขนาดเล็กลงถึง 3เท่า ตัวเครื่อง
สามารถให้แสงสว่างคงที่และยาวนานกว่า 3 ชั่วโมง
ดวบคุมการทำงานด้วย Microcontroller หน้าตัวเครื่องจะมีปุ่ม
สั่งงาน Function หลากหลาย เช่นปุ่มทดสอบตัวเครื่อง ประจำ 1 เดือน
และ 6 เดือน อีกทั้งสามารถใช้ Remote Infrared Control แทนการกด
ปุ่มจากตัวเครื่องเพื่อเพิ่มดวามสะดวกในการใช้งาน ตัวถังทำจากสแตนเลส
หนา 0.80 มม. ที่่มีความสามารถทนต่อความร้อนและกันน้ำกันฝุ่น
ใช้หลอด LED กำลังสูง พิกัด 9 วัตต์ จำนวน 2 หัวโดมในการ
ให้แสงสว่าง
หลอด LED มีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า 50,000ชั่วโมง
ให้แสงเทียบเท่าหลอดฮาโลเจน ขนาด 50W x 2
ㆍได้รับมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. 1102-2538 , มอก.1955-2551
รับประกันแผงวงจรหลัก 5ปี และแบตเตอรี่ 2ปี
รุ่น / Model : MCU209ST3
ยี่ห้อ /Brand : SUNNY
คำแนะนำการใช้งานและการบำรุงรักษา / Operating instructions :
ก่อนใช้งานไฟฉุกเฉิน
1. ผู้ใช้ควรศึกษาคู่มือการใช้งานของไฟฉุกเฉินแต่ละยี่ห้อก่อนอันดับแรก
2. การติดตั้งไฟฉุกเฉิน ควรคำนึงถึงชนิดของแบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินนั้นๆ เช่นถ้าแบตเตอรี่เป็นแบบเติมน้ำกลั่น เราก็ควรจะติดตั้งบริเวณตามทางเดินหรือในที่โล่ง หรือในพื้นที่ที่มีการระบายอากาศ
เป็นอย่างดีเพราะตลอดเวลาที่มีการประจุไฟฟ้าเข้าแบตเตอรี่จะมีไอตะกั่วระเหยออกมาซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจได้ ถ้ามีความจำเป็นต้องนำไปติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทไม่เพียงพอ
หรือห้องที่เป็นระบบปิดควรติดตั้งไฟฉุกเฉินแบบชนิดแบตเตอรี่แห้ง
3.ควรให้แบตเตอรี่ของไฟฉุกเฉินมีการคายประจุไฟฟ้าจนหมดเพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่โดย เปิดเครื่องทิ้งไว้ประมาณ 6 เดือนต่อครั้ง
วิธีการติดตั้ง (Installation) วิธีการติดตั้งโคมไฟฉุกเฉิน
1. โคมไฟฉุกเฉินติดตั้งแบบตั้งบนพื้นรับหรือแขวนติดกับผนัง
2. หลังจากติดตั้งแล้ว
• รุ่น SN SERIES ให้เปิดสวิทซ์ ON แล้วหลอดจะติดสว่าง
• รุ่น SAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง
• รุ่น NAU SERIES ให้กดสวิทซ์ R และ L แล้วหลอดจะติดสว่าง
3. เสียบปลั๊กโคมไฟฉุกเฉินเข้ากับปลั๊กไฟบ้านหลอดไฟจะดับ ข้อสังเกต
• LED “AC” สีเหลืองจะติดสว่างแสดงว่าไฟเข้าเครื่องแล้ว
• LED “CHARGE” สีแดงจะติดสว่างเมื่อโคมไฟกำลังชาร์จแบตเตอรี่
• LED “FULL CHARGE” สีเขียวติดสว่างแสดงว่าแบตเตอรี่เต็ม
• LED สีเขียวอยู่เหนือสวิทซ์สว่าง (รุ่น SN) แสดงการตรวจเช็คหลอดไฟ
• LED “OVER CHARGE” สีแดงจะต้องไม่ติดถ้าติดแสดงว่า FUSE ชาร์จขาด
4. ทดสอบวงจรและแบตเตอรี่โดยการกดสวิทซ์TEST แล้วปล่อย หลอดไฟจะติดชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จะดับไป
5. จำลองเวลาไฟดับ โดยการดึงปลั๊กไฟของตัวโคมไฟฉุกเฉินออก หลอดไฟจะติดสว่า
6. เสียบปลั๊กกลับเพื่อให้โคมไฟพร้อมใช้งานเวลาไฟดับ
ข้อควรระวัง ไม่ควรติดตั้งโคมไฟฟ้าฉุกเฉินติดกับผนังที่ รับความร้อนสูง เพราะจะทำให้อายุของแบตเตอรี่เสื่อมเร็วกว่าปกติและในห้องที่มีความชื้นสูง เช่นห้องเย็น เพราะจะทำให้ตัวสินค้าเกิดสนิม และลัดวงจรเนื่องจากความชื้น
Icon | Name |
---|---|
- | อยู่ระหว่างอัพเดท... |
Icon | File name | File size |
---|---|---|
Specsheet รายละเอียดสินค้า | 2.5mb | |
Technical วิธีการใช้งาน | 2.5mb | |
Confirmation ใบยืนยันมาตรฐาน | 1.4mb | |
Certification | 3.2mb |